หากพูดถึงการแต่งคอสเพลย์หลายคนคงนึกถึงตัวละครญี่ปุ่น จากเกม หรือ อนิเมะ แต่สำหรับการจัดงาน CAF 2023 ผู้จัดตั้งใจที่จะผลักดันวัฒนธรรมไทยผ่าน Soft power สนับสนุนครีเอเตอร์ไทยยกระดับสู่การเป็น Pop Culture เพื่อต่อยอดในการสร้างมูลค่าขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
สนับสนุนตลาดกาแฟไทย มุ่งบ่มเพาะ "ความพิเศษ"ให้เติบโต
เปิดโผโรงแรมไทย 4 แห่ง ติดอันดับดีที่สุดในโลก
รู้จัก Thames Malerose คอสเพลย์เยอร์เบอร์ต้นของไทย นำร่องแต่งคอสเพลย์เป็นอาชีพ
เทมส์ สรณ ขุนพลพิทักษ์ หรือที่รู้จักในวงการคอสเพลย์ ว่า “Thames Malerose” คอสเพลย์เยอร์มืออาชีพอันดับต้นๆ ของประเทศไทย
เล่าจุดเริ่มต้นการแต่งคอสเพลย์ย้อนไปประมาณ 16 ปีก่อน ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งเขาเรียนเกี่ยวกับศิลปะ ซึ่งเริ่มจากแต่งเป็นงานอดิเรก แต่ด้วยความสนุก ความชอบ จึงทำให้การคอสตัวละครออกมาเหมือนมากจนกลายจุดเด่นและโด่งดัง ปัจจุบันเขายึดการแต่งคอสเพลย์เป็นอาชีพ มีงานโชว์ตัว ทั้งในไทยและต่างประเทศ สามารถยึดเป็นอาชีพเลี้ยงดูตัวเองได้ โดยค่าตอบแทนอยู่ที่ขอบเขตในการทำงาน
ค่าตัวเป็นความลับทางการค้า ฮ่าๆ (หัวเราะ) มันค่อนข้างตอบยาก แล้วแต่ขอบเขตการจ้างงาน ถ้างานบริษัทใหญ่ ก็มี Value (มูลค่า) เยอะ รายได้มีมาจากหลายทาง เช่น ค่าจ้างมาโชว์ตัว การมาเปิดบูท Meet & Greet จากแฟนๆที่มาสนับสนุน รวมๆก็เยอะครับคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
:สรณ ขุนพลพิทักษ์ คอสเพลย์เยอร์มืออาชีพ
ชู “คอสเพลย์ไทย” หวังเผยแพร่สู่สากล
ตลอด 3 วันของงาน เหล่าคอสเพลย์เยอร์มืออาชีพและมือสมัครเล่น ต่างออกมาโชว์ตัว และสร้างสรรค์ผลงานผ่านการคอสเป็นตัวการ์ตูน จากเกม แอนิเมชันต่างๆ ความพิเศษที่สังเกตได้ในงาน คือ หลายคนนำเอาตัวละครต่างชาติที่ชอบมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยได้อย่างลงตัว
หนึ่งในนั้น คือ นุ่น ธีนิตา จึงตระกูล แต่งเป็นตัวละคร Lumine จาก Genshin Impact นอกจากเธอจะเป็นคอสเพลย์เยอร์แล้ว เธอยังมีดีกรีที่ปรึกษาชมรมคอสเพลย์และแอนิเมชัน และอาจารย์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เธอบอกว่า ตั้งใจคอสในธีมชุดไทยประยุกต์ เพราะต้องการเป็นตัวอย่างให้ทุกคนเห็นว่า ความเป็นเอกลักษณ์ของไทย สามารถประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ รวมถึงมองว่าในอุตสาหกรรมเกม ยังมีโอกาสของผู้ประกอบการไทย ที่จะนำเสนอวัฒนธรรมผ่านสินค้าและบริการเกมได้อีกมาก
ส่วนตัวที่เคยเห็นความเป็นไทย ก็จะมีเกม Overwatch Garena และ อนิเมะบางเรื่องก็มีตัวละครไทย แต่ยังไม่ค่อยเยอะมาก ดังนั้น จึงอยากใช้พื้นที่เป็นการส่งเสียงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้หันมาให้ความสำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ผ่านอุตสาหกรรมเกมเพื่อโชว์สู่สากล
: ธีนิตา จึงตระกูล คอสเพลย์เยอร์ , ที่ปรึกษาชมรมคอสเพลย์และแอนิเมชัน ม.หอการค้าไทย
นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ระบุว่า สำหรับ งาน CAF 2023 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีส่วนร่วมในการสนับสนุนพื้นที่ในการจัดงาน พร้อมมองว่าคอสเพลย์เป็น Pop Culture อย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ซึ่งสามารถนำมาผนวกกับวัฒนธรรมไทยได้
ทำให้เกิดผลงานมีความเป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของประเทศไทย ถือเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ทำให้คนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบคอสเพลย์สามารถนำวัฒนธรรมไทยมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มีผลงานสู่สายตานานาชาติ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมแวดล้อมให้มีรายได้ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมต่อไป
สอดคล้องกับ นายพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด กล่าวว่า ถือเป็นโอกาสอันดีที่งาน CAF 2023 ได้ช่วยขับเคลื่อน Soft Power ของไทย พร้อมมองว่าหากมี business model ที่ดีในอนาคต ท้ายสุดเชื่อว่างาน CAF จะเป็นหนึ่งในพื้นที่การสนับสนุนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของวงการคอสเพลย์ไทยและอาเซียน
เด็กรุ่นผมไม่มีนะว่าเล่นเกม แล้วจะถูกยอมรับ มันคือคนนั่งตัวเหนียวอยู่บ้าน แต่วันนี้กลายเป็นนักกีฬา e-sport ขึ้นเวที แต่งตัว ถ่ายรูปขึ้นป้ายบิลบอร์ด หรือแม้กระทั่งสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน ผมเลยมองว่าความสนุกทุกเรื่องมันจะทำได้นานมันต้องมี business model มันจะเกิดความยั่งยืน และงาน CAF ก็จะเป็นความยั่งยืนในวงการคอสเพลย์บ้านเราและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด ผู้จัดงาน