มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งเมตา บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ประกาศผ่านบัญชีของตนเองว่า เธรดส์ มีผู้สมัครใช้งานพุ่งทะลุ 10 ล้านคน ภายใน 7 ชั่วโมงแรกหลังเปิดให้ผู้ใช้งานใน 100 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ดาวน์โหลดผ่านแอป สโตร์ ของแอปเปิล และเพลย์ สโตร์ ของกูเกิล ซักเคอร์เบิร์กใช้เวลา 5 ชั่วโมงแรกหลังเปิดบัญชี ตระเวนตอบคอมเมนต์ผู้ใช้งานหลายคน หนึ่งในนั้นคือผู้ที่ตั้งคำถามว่า "มีใครคิดว่าแอปฯ นี้จะมีผู้ใช้งานมากกว่าทวิตเตอร์บ้าง"
โซเชียลมีเดีย “Threads” มาแล้ว! เปิดให้บริการใน 100 ประเทศ
“เมตา” เตรียมเปิดตัวแอปฯ ใหม่สัปดาห์นี้ หวังดึงผู้ใช้ “ทวิตเตอร์”
คาดมวยกรง “มัสก์-ซักเคอร์เบิร์ก” ทำเงินได้ 1 พันล้านดอลลาร์
คำตอบของซักเคอร์เบิร์ก คือ "คงต้องใช้เวลาสักพัก ผมคิดว่าเราควรมีแอปฯ พูดคุยสนทนาแบบสาธารณะที่มียอดผู้ใช้งานไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านคน ทวิตเตอร์เคยได้โอกาสลองทำดูแล้ว แต่ยังทำไม่สำเร็จ หวังว่าเราจะทำได้" สำหรับเธรดส์เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ผู้ใช้สามารถโพสต์ข้อความสั้นๆ สูงสุด 500 ตัวอักษร โดยสามารถแนบลิงก์ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอความยาวสูงสุด 5 นาทีได้ด้วย หน้าตาการใช้งานคล้ายกับทวิตเตอร์ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถสามารถไลก์ รีโพสต์ และตอบกลับได้ แต่จะยังไม่มีฟังก์ชันส่งข้อความตรง หรือ direct message
ผู้ใช้เธรดส์จะต้องมีบัญชีอินสตาแกรมเพื่อเข้าสู่ระบบ เมื่อลงทะเบียนแล้ว สามารถเลือกที่จะติดตามบัญชีเดียวกับที่ติดตามบนอินสตาแกรมได้ ที่ผ่านมา การบริหารงานของมัสก์ ทำให้ผู้ใช้งานบางส่วนย้ายจากทวิตเตอร์ไปเล่นแพลตฟอร์มอื่น อาทิ มาสโตดอน, บลูสกาย แต่ก็ยังไม่เคยมีแพลตฟอร์มไหนที่ประสบความสำเร็จอย่างเด่นชัด หลายฝ่ายจับตาว่า เธรดส์ น่าจะเป็นคู่แข่งที่ดูมีศักยภาพที่สุดในเวลานี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นักวิเคราะห์มองว่า เธรดส์ อาจจะเข้ามาแทนที่ทวิตเตอร์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากสามารถดึงผู้ใช้งานจากไอจีมาได้มากพอ ปัจจุบัน ไอจีมีผู้ใช้งานประมาณ 2,000 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าทวิตเตอร์ ที่มีผู้ใช้งาน 250 ล้านคน หลายเท่าตัว ฉะนั้น ถ้าผู้ใช้งานไอจีแค่ 1 ใน 10 หันมาลองใช้เธรดส์ เธรดส์ก็จะโค่นทวิตเตอร์ได้ในทันที ขณะนี้ มีเซเลปคนดังที่เริ่มเปิดใช้เธรดส์แล้ว อาทิ เจนนิเฟอร์ โลเปซ, ชากีร่า, ฮิว แจ็กแมน, และเชฟกอร์ดอน แรมซีย์
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ เธรดส์ยังไม่พร้อมเปิดใช้งานในสหภาพยุโรป เนื่องจากเพิ่งมีประเด็นกับเมตา ในเรื่องการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน
ภาพจาก AFP